ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยขุนสูงสุมารเขต(เพล จุลโพธิ์) กำนันตำบลจระเข้ใหญ่ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สร้างขึ้นในเนื้อที่ราชพัสดุเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10 ไร่เศษ ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,000 บาท เป็นอาคารแบบอาคารไม้ใต้ถุนสูง ยาว 24 เมตร ใช้เป็นห้องเรียนได้ 3 ห้อง เดิมทีมีฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – 4 มีนักเรียนประมาณ 100 คนเศษเนื่องจากอำเภอบางปลาม้า ที่ทำการอำเภออยู่ใกล้กับตัวจังหวัด การศึกษาในระดับสูงขึ้น นักเรียนจะต้องไปเรียนในตัวเมือง จนถึง พ.ศ.2475 โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.3
พ.ศ. 2479 เมื่อนักเรียนมีมากขึ้น พ่อค้าประชาชนชาวอำเภอบางปลาม้า จึงได้ช่วยกันบริจาคเงิน ต่อเติมอาคารเรียนต่อไปอีก 2 ห้องเรียน สิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 1,795 บาท
พ.ศ. 2482 เริ่มตัดชั้นประถมศึกษาออกปีละชั้น จนถึง พ.ศ.2486 คงเหลือแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดการเรียนแบบสหศึกษา
พ.ศ. 2487 ทางราชการให้เปิดเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6 ในปีต่อมาตามลำดับ แต่การรับนักเรียนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ให้รับเข้าเรียนเฉพาะนักเรียนชายเท่านั้น
พ.ศ. 2494 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบโรงเรียนประจำอำเภอ 1 หลัง 5 ห้องเรียนเป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 150,000 บาท พร้อมทั้งอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนเป็นแบบสหศึกษาได้จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
พ.ศ. 2498 นักเรียนเพิ่มมากขึ้น อาคารเรียน และครุภัณฑ์ไม่พอกับจำนวนนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนจึงพร้อมใจกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราวพร้อมครุภัณฑ์ 1 หลัง 4 ห้องเรียน เป็นเงินก่อสร้าง 742,000 บาท
พ.ศ. 2499 จำนวนนักเรียนยิ่งเพิ่มมาขึ้น อาคารเรียนและห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนผู้ปกครองจึงร่วมกันบริจาคเงินค่าก่อสร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลังพร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงินค่าก่อสร้าง 83,500 (ศาลาสามัคคีธรรม)
พ.ศ. 2503 อาคารเรียนหลังเดิมที่ท่านขุนสูงสุมารเขตสร้างไว้ชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขุนสูงสุมารเขตจึงได้บริจาคเงินส่วนตัวจำนวนเงิน200,000 บาท เพื่อให้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ สมทบกับเงินอุดหนุนของทางราชการอนุมัติให้ 300,000 บาท รวมกับเงินที่ผู้ปกครองนักเรียนรายอื่น ๆ บริจาคอีก 19,800 บาท ทำการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมออกแล้วสร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนหลังเดิม เป็นอาคารเรียนแบบไม้ 2 ชั้น 3 มุข 20 ห้องเรียน สิ้นเงินค่าก่อสร้าง519,800 บาท ทำพิธีเปิดอาคารเรียนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2503 โดยนายอภัย จันทวิมล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นประธาน
พ.ศ. 2516 ทางราชการพิจารณาเห็นว่าสถานที่โรงเรียนหลังเดิมคับแคบ จะขยายออกไปก็ติดแม่น้ำและสถานที่ราชการไม่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมากทางราชการจึงจัดซื้อที่ดินติดกับถนนสายบางปลาม้า – สุพรรณบุรี เป็นเนื้อที่ทั้งหมด 40ไร่ (ปัจจุบันถูกถนนตัดผ่านเหลือพื้นที่ 34 ไร่ 2 งาน) เพื่อขยายโรงเรียนไปอยู่แห่งใหม่ เริ่มสร้างอาคารหอประชุม บ้านพักครู บ้านพักภารโรงห้องน้ำ ห้องสุขานักเรียนขึ้นก่อน
พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก. 2 ชั้น 16 ห้องเรียน 1 หลังเป็นเงิน 2,080,000 บาท (อาคาร1 ปัจจุบัน) และได้รับงบประมาณทำรั้วลวดหนามรอบบริเวณโรงเรียน วางท่อประปาและได้รับความร่วมมือจากศิษย์เก่า และผู้ปกครองนักเรียน บริจาคเงินถมดินใต้ถุนอาคารเรียน ทำเสาธง และปลูกต้นไม้ในบริเวณโรงเรียน
พ.ศ. 2520 ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4 – 5) จำนวน 2 ห้องเรียน และเริ่มแบ่งนักเรียนมาเรียนโรงเรียนแห่งใหม่เป็นบางส่วน
พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง 10 ห้องเรียน เป็นเงินค่าก่อสร้าง 300,000 บาท และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค. ครึ่งหลัง บ้านพักครู 1 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง และเปิดเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) 10 ห้องเรียน
พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณ สร้างโรงฝึกงานอุตสาหกรรมศิลป์1 ขนาด 2 ห้อง สำหรับฝึกงาน คหกรรมศิลป์ (102/27) และสุขานักเรียน
พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค. เพิ่มอีกครึ่งหลัง พร้อมทั้งทาสีอาคาร หมดทั้งหลัง และแล้วเสร็จประมาณเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2524(อาคาร 2 ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค.1 หลัง (อาคาร 3 ปัจจุบัน) และสร้างโรงฝึกงานอุตสาหกรรมศิลป์ 2 ขนาด 2 ห้อง 1 หลัง สำหรับฝึกงานอุตสาหกรรมและก่อสร้างอาคารหอประชุมจำนวน 1 หลัง (หอประชุมใหญ่ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2525 ได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่ทั้งหมด
พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานจำนวน 1 หลัง (102/27)(อาคารเกษตรในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2534 ได้รับงบประมาณสร้างห้องน้ำ – ห้องสุขานักเรียน แบบ 6 ที่ /27
พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล จำนวน 1 หลัง (อาคาร 4 ปัจจุบัน)และสร้างรั้วโรงเรียน
พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณถมดินปรับปรุงสนามกีฬา
พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงอาหาร – หอประชุม แบบ 101ล/27 (อาคารอเนกประสงค์ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถมดินสนามกีฬา
พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 424 ล.(พิเศษ)(อาคาร 5 ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2542 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงอาหาร (อาคารโภชนาคาร)
พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณก่อสร้างแฟลตครู 8 หน่วย จำนวน 1 หลัง จัดสร้างศาลาชุมชนสัมพันธ์
พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงานแบบ 204/27(อาคารคหกรรม ปัจจุบัน)และได้งบประมาณเพิ่มหม้อแปลงไฟฟ้า 250KVA
พ.ศ. 2545 ปรับปรุงห้องสมุดให้ได้มาตรฐาน จัดสร้างห้องเรียนรู้ด้วยตนเอง(Resource Center) และจัดสร้างเรือนภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย จัดสร้างเสาธงโรงเรียน
พ.ศ. 2546 สร้างถนนคอนกรีตหน้าโรงฝึกงานและถนนรอบอาคารเรียน
พ.ศ. 2547 สร้างลานธรรมและพระประจำวัน ลานอเนกประสงค์บริเวณหน้าเสาธงห้องสุขา ชาย 30 ที่และหญิง 30 ที่ โดยใช้งบประมาณจากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาครบรอบ 75 ปี
พ.ศ. 2548 สร้างลานจอดรถจักรยานยนต์ ปรับปรุงท่อน้ำอาคาร 1 ขยายทางเท้ารอบสนาม
พ.ศ. 2549 สร้างศาลาประชาสัมพันธ์ และป้ายโรงเรียนด้านทิศเหนือ
พ.ศ. 2550 จัดปรับปรุงทาสี อาคาร 1 อาคาร 2 และ อาคาร 3 ห้องสุขาและบ้านพักครู
พ.ศ. 2551 จัดสร้างศาลาไทย(ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)ประปรุงหอประชุมใหญ่
พ.ศ. 2552 ได้จัดสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 130 ช่องและต่อเติมหลังคาหอประชุมใหญ่ จากเงินทอดผ้าป่า 82 ปี สูงสุมารผดุงวิทย์ และ สร้างห้องเกียรติยศโรงเรียน (อาคาร 1) ห้องมรกตและที่นั่งพักผ่อน(ที่นั่งปูนคอนกรีตเสริมเหล็ก)
พ.ศ. 2553 ยกระดับโรงเรียนก้าวสู่ โรงเรียนมาตรฐานสากล
พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณดำเนินการจัดทำคันกั้นน้ำ พร้อมถนนคอนกรีตเสริมเหล็กระยะทาง 191 เมตร
พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณถมดิน เพื่อป้องกันการทรุดตัวของถนนคอนกรีตความยาว172 เมตร
พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณดำเนินการจัดซื้อสนามกีฬามวยไทยสมัครเล่น เพื่อจัดการแข่งขันกีฬา สพฐ.เกมส์ พร้อมอุปกรณ์การแข่งขัน 1 เวที